Love Fiction & Fantasy World เขียนนิยายรักอย่างไรให้สนุก?


การเขียนนิยายรักสักเรื่องหนึ่ง เพียงแค่ให้จบลงอาจไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่ถ้าจะเขียนให้สนุกชวนลุ้นให้ติดตามและตรึงใจคนอ่านนั้น อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือแง่มุมของความรักและรายละเอียดที่ผู้เขียนต้องการ สื่อนั้น ต้องโดนใจคนอ่านจริงๆ

การเขียนนิยายรักสักเรื่องหนึ่ง เพียงแค่ให้จบลงอาจไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่ถ้าจะเขียนให้สนุกชวนลุ้นให้ติดตามและตรึงใจคนอ่านนั้น อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือแง่มุมของความรักและรายละเอียดที่ผู้เขียนต้องการ สื่อนั้น ต้องโดนใจคนอ่านจริง


ล่าสุด สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ ได้จัดงาน Love Fiction & Fantasy World ครั้งที่ 2 ตอน Welcome to Happy Land เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 และวันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม 2549 ณ ห้อง Meeting Room 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 11 โดยมีนักเขียนชื่อดังและนักเขียนดาวดวงใหม่มาร่วมพบปะแฟนๆ นักอ่านกันอย่างคับคั่ง

ภายในงานยังได้มีการเสวนาเรื่อง 'เขียนหนังสืออย่างไรให้สนุก' โดยผู้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประกอบด้วย ปิยะพร ศักดิ์เกษม, อาริตา, คีตาญชลี, ร่มแก้ว และจิตกร บุษบา ดำเนินรายการ ท่ามกลางแฟนคลับที่มาร่วมงานจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าไม่ว่ายุคใดสมัยใดนิยายรักก็ยังคงความนิยมได้อย่างไม่เสื่อมคลาย

ปิยะพร ศักดิ์เกษม เจ้าของนวนิยายขายดีที่หลายเรื่องมีการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์จนโด่งดัง บอกถึงความรู้สึก 'ปลื้ม' เมื่อได้เจอกับแฟนๆ นักอ่านรุ่นใหม่วัยละอ่อนที่ไม่คิดว่าจะอ่านงานของตัวเองว่า


"ธรรมดาเรื่องของเราสาวๆ หน่อยถึงจะอ่าน ไม่ใช่เด็กอายุ 14-15 แต่ว่าวันนี้ก็เจอหลายคนที่บอกว่า 'หนูอ่านๆ' ยังรู้สึกทึ่ง เด็กบางคนเขาอาจจะโตเร็ว ด้านความคิดเขาโตเร็ว แต่ว่าเรื่องของเราโดยมากจะแทรกเรื่องสาระเรื่องแนวคิดเรื่องอะไรบ้าง แต่บางเรื่องจะหวานอย่างที่เด็กพอจะเริ่มอ่านได้ แต่บางเรื่องอาจจะหนักอย่าง 'ลับแลลายเมฆ' หรือ 'รากนครา' เพราะเป็นเรื่องที่ให้ข้อมูลเยอะ และอารมณ์ตัวละครจะจัดมาก อย่างนี้เด็กอ่านแล้วอาจจะรู้สึกเครียด แต่ว่ามีหลายเรื่องที่เด็กๆ ชอบอย่าง 'กิ่งไผ่-ใบรัก' 'บ้านร้อยดอกไม้' 'ตะวันทอแสง' 'ระบำดาว' และ'ใต้เงาตะวัน' คิดว่าเด็กอ่านได้ แต่ไม่คิดว่าเด็กจะอ่านได้เยอะขนาดนี้"


อาริตา เจ้าของนวนิยายเรื่อง 'ปลายทางที่หัวใจ' เล่าประสบการณ์แรกเริ่มที่จะมาเป็นนักเขียนว่า


"เมื่อวันแรกที่มาเริ่มต้นเป็น อาชีพนักเขียน โดนคำขาดจากคุณพ่อคุณแม่อยู่อย่างหนึ่งว่าการเรียนต้องไม่เสีย ต้องแบ่งกิจกรรมสองอย่างพร้อมกันคือเขียนหนังสือและเรียนหนังสือด้วย ถ้าผลการเรียนตกไปเมื่อไรต้องเลิกเขียนหนังสือทันที เพราะฉะนั้นเราต้องรับผิดชอบทั้งสองอย่าง"


เข้าประเด็นเขียนหนังสืออย่างไรให้ สนุก เธอบอกว่า "เมื่อก่อนเราไม่มีโอกาสอย่างทุกวันนี้ สมัยนั้นเวทีพี่แลี้ยงไม่มีเลย ไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีคู่มืออะไรเลย ต้องมาแบบตัวคนเดียว ฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่บอกกับตัวเองคือถ้าเราสนุกกับงานของเราคนอ่านก็คงสนุกกับ งานของเราด้วย ใส่ใจกับมัน บอกตัวเองว่าอยากเขียนจงเขียน และใส่ใจกับมัน คนที่จะตัดสินงานของเราได้คือคนอ่าน


ฉะนั้นสิ่งแรกที่เราต้องมีคือคิด ถึงคนอ่านเสมอและซื่อสัตย์ต่อเขา ให้ความสนุก เมื่อเขามาอ่านเขาคาดหวังความสนุกสนาน ตรงนั้นเป็นสิ่งที่ทำมาตลอด แต่อยากจะบอกว่าโอกาสของน้องๆ มากกว่ามหาศาล ตอนนั้นตัวเองต้องเดินส่งต้นฉบับและต้องเหมือนกับง้อให้เขาลงให้ ใช้เวลาสามเดือนในการหยอดตู้โทรศัพท์ทุกวัน คอยถามว่าอ่านต้นฉบับหนูหรือยัง สามเดือนเต็มๆ เอาต้นฉบับไปส่งเขา และโทรไปถามเขา ช่วยอ่านงานหนูหน่อยนะ


ถามว่าเขียนหนังสืออย่างไรให้สนุก ตัวเราต้องสนุกกับงานก่อน และคิดถึงคนอ่านทุกคนเสมอ ไม่ใช่ว่าเขียนแล้วเราสนุกอยู่คนเดียว อันนี้คือคาถาง่ายๆ"


ปิยะพร ศักดิ์เกษม กล่าวเสริมว่า เมื่อฟังคุณอาริตาพูดแล้วรู้สึกเหมือนกัน คือเมื่อยุคก่อนย้อนไปเมื่อกว่า 20 ปี ที่เริ่มเขียนหนังสือจะต่างกับยุคนี้มากเลย ยุคนี้เด็กๆ มีโอกาสเปิดกว้างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในโลกอินเทอร์เน็ตหรือการพบปะสังสรรค์ในหมู่นักเขียนกับสำนัก พิมพ์


"สมัยก่อนการที่จะเริ่มเขียนอย่าง จริงจังเป็นงานเป็นการไม่มีเลย การที่จะเข้ามาเป็นนักเขียนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเราจะต้องใช้เวลาทำงานโดยที่ไม่รู้เลยว่าเรื่องของเราจะได้พิมพ์หรือ ไม่ได้พิมพ์ ฉะนั้นการเริ่มต้นเขียนต้องเริ่มต้นด้วยความรัก ความรักที่จะเขียน ความรักที่จะถ่ายทอดความคิดของเราลงไปก่อน ถ้าหากเราเริ่มต้นด้วยจุดนั้น เรื่องของเราก็จะสนุกเอง


บางคนยังไม่ทันได้เขียนเลยคิดแล้ว ว่าค่าเรื่องเท่าไร คิดแล้วว่าเรื่องของเราที่เขียนลงแรงไปจะได้พิมพ์ไหม อันนั้นความรักมันพร่องลงไปแล้ว เมื่อมันพร่องผลงานที่ได้ออกมา ความสนุกและคุณค่าในงานชิ้นนั้นก็จะน้อยลงไปด้วย ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่คิดว่าจะให้งานดีและสนุกได้จะต้องเริ่มต้นด้วยความ รักอย่างแท้จริง ความรักในเรื่องของการเขียน"


เธอกล่าวอีกว่า "ตอนที่เขียนนวนิยายเรื่องแรกเรื่อง 'ตะวันทอแสง' ตอนนั้นเขียนไปสามสิบบทโดยใช้เวลาถึงสองปีเต็มๆ โดยที่ไม่รู้เลยว่าจะได้ลงหรือไม่ได้ลงตีพิมพ์ ไม่เหมือนกับเด็กยุคนี้ที่มีโอกาสในการต่อรอง มีสำนักพิมพ์มารองรับได้มากกว่า ฉะนั้นเด็กยุคนี้พอเขียนเสร็จเร่งเร้าที่จะได้ตีพิมพ์


แต่ปรากฏว่าสองปีที่ทำไปมันเป็น ความสุขของเรา งานก็เลยออกมา และส่งไปที่นิตยสารก็ต้องใช้เวลานานมากอีกเหมือนกัน สามปีเต็มๆ กว่าคุณป้าสุภัทร สวัสดิรักษ์ บรรณาธิการนิตยสารสกุลไทย ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเป็นยอด บก.ของประเทศไทยจะมีโอกาสได้อ่าน เพราะต้องเข้าใจว่านิตยสารสมัยนั้นไม่ได้มีมากมายเหมือนสมัยนี้


ถ้าได้เข้าไปดูในห้องทำงานของคุณ ป้าสุภัทรจะพบว่าตู้เหล็กที่อยู่ข้างหลังป้าสามตู้เปิดออกมาเป็นต้นฉบับเป็น ชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ เต็มไปหมด ปรากฏว่าท่านก็เก็บไว้ในตู้นั่นแหละ และค่อยๆ ไล่อ่านไป และงานของ บก.ไม่ใช่แค่เลือกเรื่องและอ่านเรื่องเพียงอย่างเดียว เขาจะมีงานอย่างอื่นด้วย ฉะนั้นกว่าที่เรื่องของเราจะได้ลงก็สามปีเต็มๆ จากวันนั้นก็ได้เริ่มทำงานเขียนอย่างเป็นจริงเป็นจังมาโดยตลอด"


มุมมองเกี่ยวกับนิยายรักและเรื่อง แฟนตาซี เธอบอกว่า "เรื่องแฟนตาซีจะช่วยส่งเสริมจินตนาการ อย่างที่เราอ่านนิทาน ส่วนนิยายรักนั้นช่วงชีวิตหนึ่งของคนเราเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ คิดว่ามันขาดไม่ได้ บางคนมองว่านิยายรักเป็นเรื่องน้ำเน่า แต่จริงๆ ชีวิตคนเรามันต้องมีสิ่งเหล่านี้มาเติมเต็มให้ชีวิตมีรสชาติ มันมีความสำคัญมากในช่วงชีวิตหนึ่งของคนเรา พอเราโตขึ้นไปรู้จักโลกมากขึ้น มันก็จะผ่านไปเอง ฉะนั้นใครที่เห็นนิยายรักหรือ Love Fiction นี้มันมากเหลือเกิน ไม่ต้องตกใจ เป็นเรื่องปกติ"


ด้าน คีตาญชลี เจ้าของผลงาน 'นิยายรักจำลอง' 'ความรักสีส้ม' และล่าสุดคือเรื่อง 'เพรงภพ' เล่าถึงประสบการณ์เรื่องการอ่านของตัวเองก่อนว่า


"เริ่มหันมาอ่านนวนิยายตั้งแต่ ประถม ตอนเด็กๆ จะเขียนนิยายเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ จำไม่ได้ว่าเป็นเรื่องอะไร แต่จะเป็นเรื่องเจ้าชายเจ้าหญิงเมืองนั้นเมืองนี้ หน้าเดียวจบ ไม่มีบทพูด ไม่มีไดอะล็อก สมัยเรียนมหาวิทยาลัยก็ยังเขียนแบบทิ้งๆ ขว้างๆ ไปโพสต์ลงเวบก็เขียนไม่จบ ตอนเรียนจบออกมาก็ลองเขียนดู ตอนนั้นก็ยังเขียนแล้วทิ้งขว้างอยู่เหมือนเดิม จนเมื่อต้นปีที่แล้วก็เริ่มเขียนเป็นจริงเป็นจังจนจบออกมาเป็นเรื่อง"


ถามถึงประเด็นที่นิยายรักออกมา จำนวนมากนั้น เธอบอกว่า "ความรักเป็นเรื่องที่อยู่ในหัวใจของทุกๆ คน เพราะว่าทุกคนมีความรักกันอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นรักพ่อรักแม่รักแฟนหรือรัก เพื่อน มันเหมือนน้ำหวานหล่อลื่นหัวใจ คือนิยายรักเป็นอะไรที่คนอ่านแล้วรู้สึกสบายใจ อ่านแล้วมีความสุข และอยากจะอ่านต่อ ถ้าเกิดว่าเป็นเรื่องพ่อแง่แม่งอนยิ่งเห็นเด่นชัด คนจะติดตามาก พระเอกนางเอกทะเลาะกันหรือจูบกันคนจะชอบ"


ร่มแก้ว นักเขียนสาวจากโครงการ New Star คนล่าสุดที่ผันตัวเองจากนักข่าวมาเป็นนักเขียน เพราะติดนิยายมาตั้งแต่เด็ก เธอเริ่มเขียนนิยายเอาไว้อ่านคนเดียวตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม จากนั้นหลงไปเรียนคณะนิเทศศาสตร์เพราะเข้าใจว่าเป็นคณะที่คนอยากเป็นนัก เขียนเขาเรียนกัน หลังเรียนจบก็เข้าทำงานด้านหนังสือพิมพ์สายที่เธอเรียนมา แต่ความฝันที่อยากเป็นนักเขียนยังคงมีอยู่เหมือนเดิม กระทั่งมีผลงานเรื่อง 'แอบรักออนไลน์' และ'สุดแดนหัวใจ' ตีพิมพ์ออกมา


นักเขียนสาวเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ ทำให้ชอบอ่านนิยายจนติดหนึบว่า "เริ่มอ่านตั้งแต่เด็กๆ เหมือนกัน แต่ยังไม่รู้ว่าเราชอบอ่านหนังสืออะไรก็อ่านมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือแปล วรรณกรรมเยาวชน อ่านจบบ้างไม่จบบ้าง พออยู่มัธยมต้น ข้างบ้านจะมีร้านหนังสือเช่า เราเป็นคนนั่งอยู่เฉยๆ ไม่เป็น เริ่มเข้าร้านหนังสือเช่า และเริ่มอ่านนวนิยายตั้งแต่นั้นมา"


เธอยังเห็นด้วยกับนักเขียน รุ่นพี่ว่าการเขียนนิยายให้สนุกนั้นคนเขียนต้องรักและสนุกเวลาเขียนด้วย "ต้องบอกว่าเห็นด้วยกับพี่ๆ มากเลยว่าต้องรักและสนุกเวลาเขียน การเขียนเรื่องยาวเราก็ต้องอดทน เราต้องสนุกกับการทำให้เรื่องมันจบด้วย" 0



บทความโดย : พรชัย จันทโสก jantasok@yahoo.com
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/jud/wan

No comments:

Powered by Blogger.